โครงการนี้้อยู่ระหว่างการศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามความเหมาะสม
    
การศึกษาและสำรวจข้อมูล
การสำรวจข้อมูลผู้บริโภค ทำโดยการสำรวจด้วยแบบ-สอบถาม จากประชาชนในแต่ละชุมชนท้องถิ่นรวมถึงสถานประกอบการ องค์กร ห้างร้าน จำนวน 1,600
การอบรมเชิงปฏิบัติ-การ
เรื่อง "แนวทางการจัดการซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประเทศไทย" วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องประชุม 509 ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม
           
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมาย มาตรฐาน และกลไก
การเปรียบเทียบการจัดการซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศเบลเยี่ยม สวีเดน เยอรมนี โปแลนด์ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
           
ผลการรวบรวมการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการรวบรวมการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับวัสดุหมุนเวียน วัสดุรีไซเคิล
           
เทคโนโลยีการรีไซเคิลในประเทศและต่างประเทศ
           
การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
           
สรุปผลการอบรมเชิงปฎิบัติการ
           
สรุปผลการจัดสัมมนา เรื่องระบบฐานข้อมูลการติดตามซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
           
การสำรวจข้อมูลซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แนวคิด มาตรการ และกลไกเรียกคืนซาก
           
เทคโนโลยีการรีไซเคิลวัสดุ
           
เอกสารประกอบการสัมมนา
           
Presentation ประกอบการสัมมนา
           
กระดานสนทนา


หลักการและเหตุผล

          เนื่องจาก ปริมาณนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว แล้วตามประกาศ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องเงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร และซากอุปกรณ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าตามอนุสัญญาบาเซล มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่
ปริมาณสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ที่นำเข้าและที่ผลิตในประเทศไทยมีปริมาณสูงขึ้น
ทั้งเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคภายในประเทศ กลไกที่ผู้ประกอบการใช้ในการรักษา
ส่วนแบ่งในตลาด คือ การส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพและการบริการหลังการขาย ซึ่งรวมถึง
การซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าที่ชำรุดเสีย ด้วยเหตุข้างต้น ทำให้ปริมาณซากอุปกรณ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากการบริโภคที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ
ที่จัดเก็บได้มีปริมาณที่สูงขึ้น

          ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับการกำจัดซากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และเพื่อปรับตัวเข้ากับกระแสโลกในการจัดการซาก ซาก เศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้่า
และอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมในการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้น
ในอนาคต ในการกำหนดสัดส่วนการใช้วัสดุหมุนเวียน (Recycled Materials) ในผลิตภัณฑ์ -
ใหม่ อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโครงการติดตาม-
วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นโครงการที่จะส่งเสริมและกำกับดูแล
ผู้ประกอบการการนำเข้าและโรงงานในการกำจัดซากเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าที่ชำรุดเสีย ด้วยเหตุข้างต้น ทำให้ปริมาณซากอุปกรณ์
สามารถรองรับการแจ้งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อให้สามารถระบุและให้มีระบบรับรองว่า
วัสดุใดเป็นวัสดุหมุนเวียน เช่น วัสดุที่ได้จากโรงงานประเภท 105 และ 106 ในการใช้เพื่อผลิต
ผลิตภัณฑ์ใหม่

          ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีปริมาณกาก
ทั้งหมดมากกว่า 3.5 แสนตันต่อปี  กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินการส่งเสริมการนำ
วัสดุที่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนรวมถึงซากผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้
ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการผลิตสินค้าที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดปริมาณ
ของเสีย  ทั้งนี้เน้นกลุ่มเป้าหมายไปยังการจัดการซากจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ประเภทโรงงานลำดับที่ 69-72 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535 ได้แก่ โรงงานผลิตโทรทัศน์  เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์ต่อพ่วง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า  และมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น

(โครงการนี้้อยู่ระหว่างการศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามความเหมาะสม) Counters
จำนวนผู้เยี่ยมชม